ความหมายของการตลาด
Philip Kotler ศาสตราจารย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชียวชาญด้านการตลาด ได้ให้คำนิยามความหมายของการตลาดว่า "เป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่จะดำเนินเพื่อให้มีการตอบสนองความพอใจและความต้องการโดยอาศัยการแลกเปลี่ยน"
ในความหมายของผู้เขียน การตลาด หมายถึง กระบวนการจัดการและบริหารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการและทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจสูงสุด
บทบาทของการตลาด
ในอดีตที่ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยในการเลือกสินค้าหรือบริการ แต่ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นการดำเนินธุรกิจภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงที่มีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อดึงดูดลูกค้า การตลาดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อทุกธุรกิจ โดยส่วนการตลาดจะต้องศึกษา ค้นคว้่า วิจัยเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย สภาพแวดล้อม คู่แข่งขัน กำหนดแผนและกลยุทธ์ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด การจะประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายได้นั้นจะต้องมีการควบคุม ติดตามผลและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
Philip Kotler ศาสตราจารย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชียวชาญด้านการตลาด ได้ให้คำนิยามความหมายของการตลาดว่า "เป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่จะดำเนินเพื่อให้มีการตอบสนองความพอใจและความต้องการโดยอาศัยการแลกเปลี่ยน"
ในความหมายของผู้เขียน การตลาด หมายถึง กระบวนการจัดการและบริหารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการและทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจสูงสุด
บทบาทของการตลาด
ในอดีตที่ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยในการเลือกสินค้าหรือบริการ แต่ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นการดำเนินธุรกิจภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงที่มีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อดึงดูดลูกค้า การตลาดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อทุกธุรกิจ โดยส่วนการตลาดจะต้องศึกษา ค้นคว้่า วิจัยเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย สภาพแวดล้อม คู่แข่งขัน กำหนดแผนและกลยุทธ์ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด การจะประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายได้นั้นจะต้องมีการควบคุม ติดตามผลและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
ความสำคัญและประโยชน์ของการตลาด
ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ
1. มีสินค้าและบริการใหม่เกิดขึ้น ความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ธุรกิจจึงมีสินค้าและบริการที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อต้องการจะสนองความต้องการ
ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่มากขึ้น
2. มีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพิ่มขึ้น
ก็จำเป็นต้องใช้บุคลากรและแรงงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
3. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ละธุรกิจมีการแข่งขันกันด้านต้นทุนและคุณภาพหากมีสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและราคาถูกก็จะสามารถครองใจลูกค้า
และทำให้ค่านิยมในเรื่องราคาและคุณภาพเปลี่ยนไปในระยะยาวด้วย
4. เศรษฐกิจดีขึ้น เป็นผลมาจากมีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้รายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น
มีการจับจ่ายใช้สอยในประเทศมากขึ้น มีเงินหมุนเวียนมากขึ้น
จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นตามไปด้วย
5. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดี
ประชาชนมีความสุขจากคุณภาพชีวิตที่ดี มีเงินหมุนเวียนมาก
เป็นที่ดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศ
จะทำให้ประเทศสามารถพัฒนาไปได้ดีในอนาคต
ความสำคัญต่อองค์กร
1. ช่วยให้ผลกำไรเพิ่มขึ้น สืบเนื่องมาจากการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับของความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
เมื่อสามารถตอบสนองความต้องการได้ ยอดขายก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
2.
ช่วยประหยัดต้นทุน เมื่อรู้ความต้องการและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่แน่ชัด
จะสามารถใช้งบประมาณที่จำกัดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ งบประมาณไม่บานปลายเนื่องจากมีเป้าหมายที่ชัดเจน
3. กระตุ้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ ผู้บริโภคมีความต้องการใหม่ๆอยู่เสมอ
องค์กรจะต้องตอบสนองหรือสร้างสิ่งที่แตกต่างจากเดิมเพื่อตอบสนองพวกเขาเหล่านั้น
ซึ่งกลุ่มเป้าหมายมีส่วนในการกำหนดการสร้างผลิตภัณฑ์ของธุรกิจต่างๆ
3. เพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันในอนาคต องค์กรใดสามารถใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุกที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่าคู่แข่ง
และผลิตภัณฑ์ของธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้
จะสามารถสร้างความภักดีในตราสินค้าซึ่งจะส่งผลให้เป็นผู้นำตลาดในอนาคต
4. บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น ทุกองค์กรต่างก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน
เช่น สร้างผลกำไรให้มากขึ้น สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก
ขยายธุรกิจไปยังพื้นที่อื่น ฯลฯ
เมื่อใช้เครื่องมือทางการตลาดเข้ามาเป็นส่วนช่วยในการดำเนินธุรกิจจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม
ความสำคัญต่อผู้บริโภค
1. ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เนื่องจากสินค้าและบริการมีหลากหลายมากขึ้น
รวมทั้งมีการแข่งขันกันด้านคุณภาพและราคากันอยู่เสมอ
ทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิพิจารณาว่าจะเลือกสินค้าหรือบริการจากที่ใด
2. ได้ใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น เพราะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่หยุดอยู่ที่เดิม
มีการปรับปรุงคุณภาพตลอดเวลาเพื่อให้ได้มาซึ่งยอดขาย
ผลผลิตที่ออกมาแข่งขันกันเรื่องคุณภาพทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์จากการแข่งขันดังกล่าว
3. มีความสุขจากการใช้สินค้าหรือบริการมากขึ้น ค่านิยมเรื่องคุณภาพที่เปลี่ยนไป
ทำให้องค์กรต้องปรับปรุงคุณภาพผลิคภัณฑ์อยู่เสมอ
เมื่อลูกค้าเกิดความประทับใจในคุณภาพจะทำให้ลูกค้ามีความสุขมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น